วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แบบทดสอบบทที่ 1

 1. การกระทำในข้อใด ที่ทำให้สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้

    ก. การปล่อยสารเคมีไว้ในภาชนะเปิด ภายในตู้ดูดควัน

    ข.การถ่ายเทสารเคมีในปริมาณเท่าที่ต้องการใช้

    ค.สวมถุงมือเมื่อต้องเทกรดความเข้มข้นสูงออกจากขวด

    ง.การใช้เครื่องแก้วที่มีปากบิ่นเล็กน้อย

2. การระเหยตัวทำละลายภายในตู้ควัน ช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายในห้องปฏิบัติการข้อใด

    ก. ไฟไหม้

    ข. การสูดดมไอของสารเคมี

    ค. สารเคมีเข้าปาก

    ง. การระเบิด


3. ข้อปฏิบัติใด เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียม

    ก.การจับบีกเกอร์ที่มีน้ำร้อนลงจาก hot plate ด้วยมือเปล่า

    ข. การเช็ดสารเคมีที่หกเลอะบนโต๊ะทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม                               

    ค.สารเคมีที่หกกระเด็นจากบีกเกอร์เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรีบเช็ดทำความสะอาด

    ง. เมื่อมีสารเคมีหกรดตัวเป็นบริเวณกว้าง ทำการชำระล้างโดยที่ล้างตัวฉุกเฉิน


4. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าปากได้

    ก.การใช้ลูกยางในการดูดสารเคมีเข้าปิเปต

    ข.ถ้าสวมถุงมือขณะทำการทดลอง ไม่จำเป็นต้องล้างมือหลังทำการทดลองเสร็จ

    ค.การโบกพัดไอของสารที่ต้องทดสอบด้วยการสูดดมเข้าหาจมูก

    ง.ไม่ดื่มหรือกินของขบเคี้ยวในห้องปฏิบัติการ


5. อุปกรณ์ความปลอดภัยใดในห้องปฏิบัติการ ที่ใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายมากและไม่สามารถจัดการด้วย ตนเองได้

    ก.ที่ล้างตัวฉุกเฉิน

    ข. เครื่องดับเพลิง

    ค.สัญญาณเตือนภัย

    ง.ตู้ดูดควัน


6. ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องอพยพคนออกจากอาคาร ควรปฏิบัติตามข้อใด

    ก. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ก่อนออกจากห้อง

    ข.ถ้าลิฟท์ยังทำงาน ขึ้นลิฟท์เพื่อลงมาชั้นล่าง

    ค.รีบวิ่งลงบันได ทางประตูฉุกเฉิน

    ง.นำชุดปฐมพยาบาลติดตัวลงมาด้วย เผื่อใช้


7. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติทั่วไปที่ควรทำในห้องปฏิบัติการ

    ก.นำกระเป๋าและสิ่งของต่างๆ เข้ามาในห้องปฏิบัติการให้หมด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัย

    ข.วิ่งเล่นในห้องปฏิบัติการ

    ค.ไม่สัมผัสและสูดดมสารเคมีโดยตรง

    ง.ทำการทดลองนอกเหนือจากคู่มือปฏิบิติการหรือที่อาจารย์กำหนด


8. การแต่งกายในข้อใด ไม่เหมาะสมในการเข้าทำปฏิบัติการ

    ก. ใส่รองเท้าที่ปิดด้านหน้ามิดชิด แต่เปิดส้นได้

    ข.ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว ทำการรวบผูกไว้หลังศีรษะ

    ค.สวมเสื้อที่หลวมจนเกินไป

    ง.สวมแว่นตาแทนคอนแทกเลนส์


9. ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลในการหาสมบัติกายภาพและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง

    ก. Merck Index

    ข.Handbook of Chemistry and Biology

    ค.Material Safety Data Sheet

    ง.MSDS


10. ระหว่างทำการทดลอง ไม่ควรปฏิบัติตามข้อใด

    ก. ถ้าใช้สารที่มีความเป็นพิษสูง ทำการทดลองในตู้ดูดควัน หรือบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี

    ข.ก่อนผสมสารเคมีใดๆ อ่านชื่อที่ฉลากบนขวดหรือภาชนะให้แน่ใจว่าหยิบถูกต้องแล้ว

    ค.ก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่าสายไฟไม่ชำรุด

    ง. สามารถอุ่นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นสารไวไฟ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์ โดยตั้งบนเตาไฟฟ้า โดยตรงได้


11. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

    ก. ใส่คอนแทคเลนส์เมื่อท างานกับสารเคมี 

    ข. สวมรองเท้าเมื่อท างานกับสารเคมี 

    ค. ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นสารเคมีอันตรายอย่างไร ให้ทดลองท าน้อยๆ ดูก่อน 

    ง. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมตลอดเวลา 


12. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 
    ก. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรท าภายในตู้ดูดไอสารเคมี 
    ข. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรท าในที่โล่ง ระบายอากาศดี 
    ค. สารเคมีทุกชนิด ควรทำภายในตู้ดูดไอสารเคมี 
    ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 

13. ข้อใดแนวทางการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย 
    ก. เก็บรักษาตามค าแนะน าใน MSDS 
    ข. สถานที่เก็บควรปิดสนิทมิดชิด ไม่ควรให้มีอากาศถายเทสู่ภายนอก 
    ค. เพื่อประหยัดพื้นที่ควรวางขวดสารเคมีซ้อนกัน โดยภาชนะขนาดใหญ่ไว้ชั้นลางสุด 
    ง. ถูกทุกข้อ 

14. ข้อใดเป็นมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากสารเคมีอันตรายที่ดีที่สุด 
    ก. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ 
    ข. สวมใส่ถุงมือตลอดเวลาที่ท างานกับสารเคมี 
    ค. ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หรือเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่า 
    ง. จัดท าเอกสารความปลอดภัยสารเคมีให้พร้อมใช้ตลอดเวลา 3/4 

15. เมื่อสารเคมีหกใส่ร่างกายหรือกระเด็นเข้าตา ต้องทำอะไรเป็นสิ่งแรก 
    ก. รีบไปพบแพทย์ทันที 
    ข. อาบนัำหรือล้างตาด้วยน้ำนานอย่างน้อย 15 นาที 
    ค. รีบรายงานให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบ     
    ง. แจ้งผู้ร่วมงาน 

16. ข้อใดต่อไปนี้ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งโดยตรง 
    ก. สารไวไฟ    
    ข. สารตัวท าละลาย 
    ค. สารไวปฏิกิริยากับน้ า เช่น โลหะโซเดียม 
    ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 

17. เมื่อเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกปนเปื้อนน้อย (minor chemical spill) ในหน่วยงานต้องท าอะไรเป็น สิ่งแรก     ก. ท าความสะอาดบริเวณที่มีสารเคมีหก 
    ข. หยุดการปฏิบัติงาน ปิดห้องแล้วรีบออกไป 
    ค. แจ้งงานอาชีวอนามัยทันที 
    ง. แจ้งให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นทราบทันที 

18. ของเสียสารเคมีชนิดใดที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ าหรือท่อน้ าทิ้งได้โดยตรง 
    ก. สารไวไฟสูง 
    ข. สารละลายบัฟเฟอร์ 
    ค. ตัวท าละลายที่ไม่ละลายน้ า 
    ง. สารไวปฏิกิริยากับน้ า 4/4 

19. เมื่อกรด HCl เข้มข้นหกในห้องปฏิบัติการ ควรใช้ neutralizing agent ตัวไหนเหมาะสมที่สุด 
    ก. ผงถ่านคาร์บอน 
    ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต 
    ค. น้ าประปา 
    ง. ทราย 

20. วิธีใดเหมาะสมที่สุด ส าหรับการต้มสารละลายเมทานอล 
    ก. ต้มด้วยตะเกียงบุนเสน 
    ข. ต้มในอ่างน้ าควบคุมอุณหภูมิ 
    ค. ต้มภายในบีกเกอร์ใส่น้ า ตั้งบนตะเกียงบุนเสน 
    ง. ต้มบน hot plate 


เฉลย
1.ง
2.ข
3.ง
4.ข
5.ค
6.ก
7.ค
8.ก
9.ข
10.ง
11.ง
12.ก
13.ก
14.ค
15.ข
16.ค
17.ง
18.ข
19.ข
20.ข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต

                 พัฒนาการของตารางธาตุ  ตลอดจนแนวคิดของการจัดอิเล็กตรอน  ช่วยให้นักเคมีสามารถอธิบายการเกิดโมเลกุลหรือสารประกอบได้อย่างมีเหตุผ...